กระบวนการเริ่มต้นระบบคอมพิวเตอร์ (Booting up)
สวัสดึค่ะ พบกันอีกครั้งตามเคยแล้วนะคะ วันนี้เราจะมาต่อด้วยเรื่อง กระบวนการเริ่มต้นระบบคอมพิวเตอร์ ไปติดตามกันเลยยยย
Powering on the computer (เปิดเครื่องคอมพิวเตอร์)
1. กดปุ่มเพาเวอร์ (power button) ถ้าออนจากเมนบอร์ดให้นำตัวนำไฟฟ้าหรือไขควงแตะที่พิน 4 กับพิน 5(สำหรับเมนบอร์ดยี่ห้อ ASUS รุ่น P45333-VM) จากนั้นคอมพิวเตอร์จะส่งสัญญาณไปยังแหล่งจ่ายไฟ (power supply) เพื่อจ่ายไปให้กับคอมพิวเตอร์เมนบอร์ด ซีพียู การ์ดขยาย และอุปกรณ์ประกอบต่างๆ
2. แหล่งจ่ายไฟหรือพาวเวอร์ซัพพลายก็จะจ่ายไฟไปยังเมนบอร์ดและหน่วยประมวลผลของคอมพิวเตอร์ (CPU)
3. ขณะเดียวกัน หน่วยประมวลผล (CPU) จะล้างข้อมูลที่เหลือในรีจีสเตอร์หน่วยความจำ และมีผลทำให้โปรแกรมเคาน์เตอร์ในซีพียู มีค่าเท่ากับ F000 ซึ่งเป็นเลขฐานสิบหก ตัวเลขนี้เป็นที่อยู่ของคำสั่งแรก และเป็นการบอกให้ CPU พร้อมที่จะประมวลผลคำสั่งที่อยู่ใน BIOS
3. ขณะเดียวกัน หน่วยประมวลผล (CPU) จะล้างข้อมูลที่เหลือในรีจีสเตอร์หน่วยความจำ และมีผลทำให้โปรแกรมเคาน์เตอร์ในซีพียู มีค่าเท่ากับ F000 ซึ่งเป็นเลขฐานสิบหก ตัวเลขนี้เป็นที่อยู่ของคำสั่งแรก และเป็นการบอกให้ CPU พร้อมที่จะประมวลผลคำสั่งที่อยู่ใน BIOS
BIOS และ POST
4. เมื่อคอมพิวเตอร์เริ่มทำงาน ไบออส (BIOS) จะเริ่มกระบวนการทดสอบตัวเองตามลำดับ (POST) เพื่อให้แน่ใจว่าส่วนประกอบต่างๆ ที่มีในเครื่องคอมพิวเตอร์ขณะนั้นมีฟังค์ชันการทำงานถูกต้อง
5. ถ้าคอมพิวเตอร์ไม่ผ่านการทดสอบใดๆในลำดับการทดสอบนี้ ก็จะพบว่ากระบวนการ POST มีความผิดปกติเกิดขึ้น POST ที่ผิดปกติจะแจ้งเป็นรหัสเสียงเตือนแบบต่างๆออกมา
6. ถ้าคอมพิวเตอร์ผ่านการ POST ก็จะมองไปที่ 64 ไบต์แรกของหน่วยความจำที่อยู่ในชิป CMOS ซึ่งเก็บรักษาค่าที่เก็บไว้ให้คงอยู่ตลอดด้วย แม้คอมพิวเตอร์ถูกปิดหรือไม่มีไฟจ่ายเข้ามา ชิปนี้จะบรรจุข้อมูลเช่นเวลาระบบ และวันที่ และข้อมูลเกี่ยวกับฮาร์ดแวร์ทั้งหมดที่ติดตั้งในเครื่องนี้
7. หลังจากโหลดข้อมูลใน CMOS การโพสต์ก็จะเริ่มต้นการตรวจสอบและเปรียบเทียบระหว่างค่าระบบที่เราตั้งไว้ กับสิ่งที่ติดตั้งจริงในคอมพิวเตอร์ในขณะนั้น หากไม่พบข้อผิดพลาดก็จะโหลดโปรแกรมควบคุมอุปกรณ์พื้นฐาน
8. ต่อมา POST จะตรวจสอบนาฬิกาเวลาจริง และระบบบัสคอมพิวเตอร์ เพื่อให้แน่ใจว่าทั้งสองอย่างนี้ทำงานอย่างเหมาะสมบนเครื่องคอมพิวเตอร์
9. เราจะได้รับภาพบนจอแสดงผลหลังจากที่ POST ได้โหลดหน่วยความจำที่มีอยู่บนการ์ดแสดงผลและทำให้เป็นส่วนหนึ่งของระบบ BIOS
10. POST จะส่งสัญญาณไปยังฟลอปปี้ ออฟติคไดรฟ์ และฮาร์ดไดรฟ์ เพื่อที่จะทดสอบไดรฟ์เหล่านี้ หากไดรฟ์ทั้งหมดผ่านการทดสอบกระบวนการ POST ก็จะเสร็ขสมบูรณ์ และสั่งคอมพิวเตอร์ให้เริ่มต้นกระบวนการของการโหลดระบบปฏิบัติการ
7. หลังจากโหลดข้อมูลใน CMOS การโพสต์ก็จะเริ่มต้นการตรวจสอบและเปรียบเทียบระหว่างค่าระบบที่เราตั้งไว้ กับสิ่งที่ติดตั้งจริงในคอมพิวเตอร์ในขณะนั้น หากไม่พบข้อผิดพลาดก็จะโหลดโปรแกรมควบคุมอุปกรณ์พื้นฐาน
8. ต่อมา POST จะตรวจสอบนาฬิกาเวลาจริง และระบบบัสคอมพิวเตอร์ เพื่อให้แน่ใจว่าทั้งสองอย่างนี้ทำงานอย่างเหมาะสมบนเครื่องคอมพิวเตอร์
9. เราจะได้รับภาพบนจอแสดงผลหลังจากที่ POST ได้โหลดหน่วยความจำที่มีอยู่บนการ์ดแสดงผลและทำให้เป็นส่วนหนึ่งของระบบ BIOS
10. POST จะส่งสัญญาณไปยังฟลอปปี้ ออฟติคไดรฟ์ และฮาร์ดไดรฟ์ เพื่อที่จะทดสอบไดรฟ์เหล่านี้ หากไดรฟ์ทั้งหมดผ่านการทดสอบกระบวนการ POST ก็จะเสร็ขสมบูรณ์ และสั่งคอมพิวเตอร์ให้เริ่มต้นกระบวนการของการโหลดระบบปฏิบัติการ
แผนผังการ Booting up
เพิ่มเติม
POST คอมพิวเตอร์บอกอะไรให้เราทราบบ้าง ดังนี้เลยค่ะ
1. บอกถึงผู้ผลิต BIOS (Phoenix)
2. บอกยี่ห้อ/รุ่นของเมนบอร์ด และ เวอร์ชั่นของ BIOS (ASUS รุ่น A7N8X และ BIOS รุ่น 1008)
3.บอกว่าเราใช้ CPU รุ่นไหน ความเร็วเท่าไหร่ และมี RAM อยู่เท่าไหร่ (CPU Athlon XP 3000+ และมีเมมโมรี่อยู่ 1 GB.)
4. บอกว่าเรามี HDD และ CD/DVD ต่ออยู่หรือไม่ (มี HDD 2 ตัว และ DVD 2 ตัว)
5. บอก Error massage ถ้าเครื่องเรามีข้อผิดพลาด
6. เครื่องรอคำสั่งจากเราว่าจะทำอย่างไรต่อไป ในที่นี้คือถ้าจะเข้าหน้าจอตั้งค่า BIOS ให้กดปุ่ม DEL หรือถ้าจะผ่านไปโดยไม่สนใจก็กดปุ่ม F1 จากภาพด้านล่างนี้ค่ะ
POST ที่แสดงบนหน้าจอคอมพิวเตอร์
ขอบคุณที่ติดตามรับชมนะคะ ไว้พบกันใหม่ในครั้งหน้านะคะ ^___^
อ้างอิงจาก : http://ajs2000service.blogspot.com/2013/05/4-error-messages.html
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น