วันอาทิตย์ที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2559

การค้นหาอุปกรณ์เพื่อเลือกอุปกรณ์ประกอบคอมพิวเตอร์

การค้นหาอุปกรณ์เพื่อเลือกอุปกรณ์ประกอบคอมพิวเตอร์
พบกันอีกตามเคยแล้วนะคะ สำหรับทุกท่านที่กำลังมองหาคอมพิวเตอร์สำหรับไว้เพื่อเล่นเกมส์ แต่ไม่รู้ว่าควรจะพิจารณาสเปคคอมพิวเตอร์เพื่อเล่นเกมส์ยังไง สิ่งไหนเป็นสิ่งสำคัญในการเลือกซื้อบ้าง วันนี้เราจะมาแนะนำเทคนิควิธีการค้นหาหรือเลือกซื้อคอมพิวเตอร์สำหรับเล่นเกมส์มาฝาก โดยจะมีองค์ประกอบสำคัญในการสูงสุด จากมากไปน้อย ดังนี้ค่ะ

สิ่งสำคัญในการค้นหาหรือเลือกซื้อคอมพิวเตอร์เพื่อเล่นเกมส์ 
1. การ์ดจอ (Graphic Card) เป็นแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ ทำหน้าที่ในการนำข้อมูลที่ได้จากการประมวลผลของ CPU มาแสดงบนจอภาพ ดังนั้นการ์ดจอจึงสำคัญที่สุด เพราะเกมส์นั้นต้องอาศัยคุณสมบัติเฉพาะของการ์ดแสดงผลที่ช่วยเร่งความเร็วในการแสดงผล ซึ่งการ์ดจอที่แนะนำได้แก่ ค่าย Nvidia

2. หน่วยประมวลผล (CPU) คือหัวใจหลักในการประมวลผลของคอมพิวเตอร์ เป็นตัวควยคุมการทพงานของอุปกรณ์ต่างๆ ถ้าหาก CPU มีความไวสูง ก็ย่อมประมวลผลเกมส์ไวไปด้วยเช่นกัน ซื่งจะมีอยู่ด้วยกัน 2 ค่ายหลักๆ ได้แก่ ค่าย Intel และ ค่าย AMD

3. หน่วยความจำหลัก (RAM หรือ Memory) ทำหน้าที่เก็บชุดคำสั่งและข้อมูลที่ระบบคอมพิวเตอร์กำลังทำงานอยู่ เพื่อเพิ่มความเร็วในการทำงานและการรับ-ส่งข้อมูล เราขอแนะนำให้ใช้ 4 GB เป็นอย่างต่ำ แต่ถ้ามีงบมากควร 8 GB ไปเลยดีกว่าค่ะ เพราะเกมส์บางเกมส์ก็ใช้ RAM เยอะพอสมควรเลยค่ะ

4. ฮาร์ดดิส (Harddisk) เปรียบเสมือนคลังเก็บข้อมูลขนาดใหญ่ของเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งหากเรามีฮาร์ดดิสที่มีความเร็วสูงแล้ว อัตราการดึงข้อมูลต่างๆภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ของเราก็จะไวขึ้นอีกด้วย ฮาร์ดิสที่นิยมใช้ในคอมพิวเตอร์สำหรับเล่นเกมส์ ได้แก่ ฮาร์ดดิสความเร็ว 7200 RPM เป็นต้น

5. หน้าจอแสดงผล (Display) เป็นอีกหนึ่งส่วนที่มีความสำคัญอยู่เช่นกัน เพราะหากหน้าจอมีความละเอียดน้อยหรือภาพสีนั้นไม่สดไม่สมจริงสวยงาม ก็อาจจะทำให้เราเสียอรรถรสในการเล่นเกมส์ไปด้วยเช่นกัน หน้าจอแสดงผลที่นิยมใช้จะมีขนาด 15.6 นิ้วเป็นต้นไป ความละเอียดระดับ 1080p 
         ส่วนอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่เราไม่ได้กล่าวก็มีความสำคัญในการค้นหาหรือเลือกซื้อด้วยนะคะ แต่เราจะข้อยกตัวอย่างอุปกรณ์ที่สำคัญในการเลือกซื้อสำหรับเล่นเกมส์ แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับงบประมาณในการใช้จ่ายของเราด้วยและควรจะเลือกซื้อดีและคุ้มที่สุดในการใช้งานตามความต้องการของเรา
          สำหรับในการค้นหาและเลือกซื้อเราก็ได้ลองเลือกซื้ออุปกรณ์ที่ดีที่สุดที่เราได้ศึกษามาให้ชมด้วยนะคะ ไปชมกันเลย
การค้นหาหรือเลือกซื้อคอมพิวเตอร์ในราคาไม่เกิน 17,500 บาท


เลือกซื้ออุปกรณ์คอมพิวเตอร์สำหรับโฮมออฟฟิศ ในราคา 17,460 บาท

การค้นหาหรือเลือกซื้อคอมพิวเตอร์ในราคาไม่เกิน 21,000 บาท


เลือกซื้ออุปกรณ์คอมพิวเตอร์สำหรับเริ่มต้นเล่นเกมส์มือใหม่ ในราคา 20,990 บาท

เมนบอร์ดยี่ห้อ ASROCK รุ่น HB1M-VG4 จะรองรับแรมชนิด DDR3 1600 ด้วยนะคะ 

 แรมที่เราเลือกมาจะเป็นชนิด DDR3 ความจุ 8 GB RAM Bus 1600

การ์ดจอจะเป็นค่าย NVIDIA ยี่ห้อ GIGBYTE รุ่น GTX750Ti OC ความต้องกำลังไฟ 500 w 
หมายเหตุ GTX750 เลข 7 หมายถึง Series ของการดจอของ Nvidia ยิ่งเยอะยิ่งใช้เทคโนโลยีใหม่กว่า 
เลข 50 หมายถึง ระดับความเทพของการ์ดจอใน Series นั้นๆ ยิ่งเยอะยิ่งแรง

เราเลือกใช้ พาวเวอร์ซัพพลายที่มีกำลังไฟสูงสุด 550 w

ฮาร์ดดิสที่เราเลือกใช้จะมีความจุ 1TB และความเรีวจานหมุน 7200

ขอบคุณที่ติดตามรับชม ไว้พบกันใหม่อีกครั้งนะคะ
อ้างอิง : http://notebookspec.com/PCspec?pw=1
            : http://itnews4u.com/how-to-choose-gaming-computer.html

วันเสาร์ที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2559

กระบวนการเริ่มต้นระบบคอมพิวเตอร์

กระบวนการเริ่มต้นระบบคอมพิวเตอร์ (Booting up)
          สวัสดึค่ะ พบกันอีกครั้งตามเคยแล้วนะคะ วันนี้เราจะมาต่อด้วยเรื่อง กระบวนการเริ่มต้นระบบคอมพิวเตอร์ ไปติดตามกันเลยยยย

Powering on the computer (เปิดเครื่องคอมพิวเตอร์)
          1. กดปุ่มเพาเวอร์ (power button) ถ้าออนจากเมนบอร์ดให้นำตัวนำไฟฟ้าหรือไขควงแตะที่พิน 4 กับพิน 5(สำหรับเมนบอร์ดยี่ห้อ ASUS รุ่น P45333-VM) จากนั้นคอมพิวเตอร์จะส่งสัญญาณไปยังแหล่งจ่ายไฟ (power supply) เพื่อจ่ายไปให้กับคอมพิวเตอร์เมนบอร์ด ซีพียู การ์ดขยาย และอุปกรณ์ประกอบต่างๆ 
          2. แหล่งจ่ายไฟหรือพาวเวอร์ซัพพลายก็จะจ่ายไฟไปยังเมนบอร์ดและหน่วยประมวลผลของคอมพิวเตอร์ (CPU)
          3. ขณะเดียวกัน หน่วยประมวลผล (CPU) จะล้างข้อมูลที่เหลือในรีจีสเตอร์หน่วยความจำ และมีผลทำให้โปรแกรมเคาน์เตอร์ในซีพียู มีค่าเท่ากับ F000 ซึ่งเป็นเลขฐานสิบหก ตัวเลขนี้เป็นที่อยู่ของคำสั่งแรก และเป็นการบอกให้ CPU พร้อมที่จะประมวลผลคำสั่งที่อยู่ใน BIOS
BIOS และ POST
          4. เมื่อคอมพิวเตอร์เริ่มทำงาน ไบออส (BIOS) จะเริ่มกระบวนการทดสอบตัวเองตามลำดับ (POST) เพื่อให้แน่ใจว่าส่วนประกอบต่างๆ ที่มีในเครื่องคอมพิวเตอร์ขณะนั้นมีฟังค์ชันการทำงานถูกต้อง
          5. ถ้าคอมพิวเตอร์ไม่ผ่านการทดสอบใดๆในลำดับการทดสอบนี้ ก็จะพบว่ากระบวนการ POST มีความผิดปกติเกิดขึ้น POST ที่ผิดปกติจะแจ้งเป็นรหัสเสียงเตือนแบบต่างๆออกมา
          6. ถ้าคอมพิวเตอร์ผ่านการ POST ก็จะมองไปที่ 64 ไบต์แรกของหน่วยความจำที่อยู่ในชิป CMOS ซึ่งเก็บรักษาค่าที่เก็บไว้ให้คงอยู่ตลอดด้วย แม้คอมพิวเตอร์ถูกปิดหรือไม่มีไฟจ่ายเข้ามา ชิปนี้จะบรรจุข้อมูลเช่นเวลาระบบ และวันที่ และข้อมูลเกี่ยวกับฮาร์ดแวร์ทั้งหมดที่ติดตั้งในเครื่องนี้
          7. หลังจากโหลดข้อมูลใน CMOS การโพสต์ก็จะเริ่มต้นการตรวจสอบและเปรียบเทียบระหว่างค่าระบบที่เราตั้งไว้ กับสิ่งที่ติดตั้งจริงในคอมพิวเตอร์ในขณะนั้น หากไม่พบข้อผิดพลาดก็จะโหลดโปรแกรมควบคุมอุปกรณ์พื้นฐาน
          8. ต่อมา POST จะตรวจสอบนาฬิกาเวลาจริง และระบบบัสคอมพิวเตอร์ เพื่อให้แน่ใจว่าทั้งสองอย่างนี้ทำงานอย่างเหมาะสมบนเครื่องคอมพิวเตอร์
          9. เราจะได้รับภาพบนจอแสดงผลหลังจากที่ POST ได้โหลดหน่วยความจำที่มีอยู่บนการ์ดแสดงผลและทำให้เป็นส่วนหนึ่งของระบบ BIOS
          10. POST จะส่งสัญญาณไปยังฟลอปปี้ ออฟติคไดรฟ์ และฮาร์ดไดรฟ์ เพื่อที่จะทดสอบไดรฟ์เหล่านี้ หากไดรฟ์ทั้งหมดผ่านการทดสอบกระบวนการ POST ก็จะเสร็ขสมบูรณ์ และสั่งคอมพิวเตอร์ให้เริ่มต้นกระบวนการของการโหลดระบบปฏิบัติการ

แผนผังการ Booting up
เพิ่มเติม
 POST คอมพิวเตอร์บอกอะไรให้เราทราบบ้าง ดังนี้เลยค่ะ
1. บอกถึงผู้ผลิต BIOS (Phoenix)
2. บอกยี่ห้อ/รุ่นของเมนบอร์ด และ เวอร์ชั่นของ BIOS (ASUS รุ่น A7N8X  และ BIOS รุ่น 1008)
3.บอกว่าเราใช้ CPU รุ่นไหน ความเร็วเท่าไหร่ และมี RAM อยู่เท่าไหร่ (CPU Athlon XP 3000+ และมีเมมโมรี่อยู่ 1 GB.)
4. บอกว่าเรามี HDD และ CD/DVD ต่ออยู่หรือไม่ (มี HDD 2 ตัว และ DVD 2 ตัว)
5. บอก Error massage ถ้าเครื่องเรามีข้อผิดพลาด
6. เครื่องรอคำสั่งจากเราว่าจะทำอย่างไรต่อไป ในที่นี้คือถ้าจะเข้าหน้าจอตั้งค่า BIOS ให้กดปุ่ม DEL หรือถ้าจะผ่านไปโดยไม่สนใจก็กดปุ่ม F1 จากภาพด้านล่างนี้ค่ะ

POST ที่แสดงบนหน้าจอคอมพิวเตอร์

ขอบคุณที่ติดตามรับชมนะคะ ไว้พบกันใหม่ในครั้งหน้านะคะ ^___^

อ้างอิงจาก : http://ajs2000service.blogspot.com/2013/05/4-error-messages.html

วันอาทิตย์ที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2559

ถอดประกอบคอมพิวเตอร์

ถอดประกอบคอมพิวเตอร์
          สวัสดีค่ะ พบกันอีกครั้งแล้วนะคะ กลับการมารีวิวเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ครั้งนี้เราได้ทำการถอดประกอบคอมพิวเตอร์และออนคอมพิวเตอร์จากเมนบอร์ดค่ะ
          ครั้งนี้ดิฉันต้องทำด้วยตนเอง รู้สึกตื่นเต้นมากค่ะ และคิดไว้ว่าการปฏิบัติครั้งนี้ต้องทำให้เสร็จและทันเวลา แต่ผลออกมาคลาดเคลื่อนนิดหน่อยค่ะ5555 แต่ยังไงก็เป็นการสอบปฏิบัติครั้งแรกของดิฉันและเป็นประสบการณ์อีกอย่างนึงที่ดิฉันต้องเรียนรู้ให้มากกว่านี้ ดิฉันได้ถ่ายเป็นคลิปวีดีโอมาให้ชมและได้จัดทำมาเป็นอย่างดีที่สุดแล้วค่ะ เชิญรับชมได้เลยค่ะ...

ขอบคุณที่ติดตามรับชมนะคะ 
 ไว้พบกันใหม่นะคะ^-^