วันเสาร์ที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

วัดค่าความต่างศักย์ไฟฟ้า

วัดค่าความต่างศักย์ไฟฟ้าของหัวต่อพาวเวอร์ซัพพลาย

          สวัสดีค่ะ พบกันอีกครั้งแล้วนะคะ วันนี้เราจะมารีวิวอะไรมาติดตามกันเลย... ทุกท่านอาจจะมองข้ามการหาค่าความต่างศักย์ไฟฟ้าหรืออาจจะคิดว่าไม่จำเป็นต้องรู้ค่าความต่างศักย์ไฟฟ้าของอุปกรณ์ แต่การที่เรารู้ไว้อาจจะเกิดประโยชน์กับเราได้ ซึ่งวันนี้เราจะมาหาค่าความต่างศักย์ไฟฟ้าของหัวต่อพาวเวอร์ซัพพลาย เราจะได้รู้ว่าพินหัวต่อแต่ละสีมีค่าความต่างศักย์เท่าไหร่ ไปติดตามกันเลย... 
ก่อนอื่นเรามารู้จักอุปกรณ์ที่เราจะใช้กันก่อนนะคะ

อุปกรณ์ที่ใช้วัดค่าความต่างศักย์ไฟฟ้า
          1.เครื่องวัดค่าความต่างศักย์ไฟฟ้า ในนี้เราจะใช้ 2 แบบ คือ
-แบบอนาล็อก เราจะใช้เครื่อง โวลต์มิเตอร์ ซึ่งใช้วัดแรงดันไฟฟ้าระหว่างจุด 2 จุด วิธีใช้ ต้องต่อขนานกับวงจรเครื่องมือที่ใช้วัดค่าความต่างศักย์ในวงจรไฟฟ้า ค่าที่วัดได้มีหน่วยเป็น โวลต์ (V) 
-แบบดิจิตอล เราจะใช้เครื่อง มัลติมิเตอร์ จะเป็นเครื่องวัดที่ใช้วัดกระแสไฟฟ้าและความต้านทานไฟฟ้า

          2. ตัวนำไฟฟ้า ในนี้เราจะใช้กี๊ฟดำ เป็นตัวนำไฟฟ้าในการเชื่อมต่อของพินเพื่อให้พาวเวอร์ซัพพลายทำงาน
ทุกท่านอยากรู้แล้วใช้ไหมว่าทำอย่างไร เราไปดูขั้นตอนการวัดค่าความต่างศักย์ไฟฟ้ากันเลย

ขั้นตอนการวัดค่าความต่างศักย์ไฟฟ้าของพาวเวอร์ซัพพลาย
          1.เราจะใช้กิ๊ปดำเสียบใน pin14 กับ pin15 เพื่อเชื่อมต่อกับพินเพื่อให้พาวเวอร์ซัพพลายทำงาน แล้วเสียบปลั๊กไฟของพาวเวอร์ซัพพลาย ถ้าพัดลมหมุนแสดงว่าเครื่องทำงาน

          2.จากนั้นเราจะนำสายสีดำซึ่งเป็นขั้วลบ แตะที่ตัวพาวเวอร์ซัพพลาย ถ้าแตะที่ตัวน็อตของพาวเวอร์ซัพพลายซึ่งจะนำไฟฟ้าได้ดีทำให้คลาดเคลื่อนน้อย แต่เครื่องของเราไม่มีเลยต้องแตะตามช่องดังภาพด้านล่างค่ะ ส่วนสายสีแดงจะเป็นขั้วบวก เราจะเสียบลงในช่อง pin แต่ละช่องของหัวต่อพาวเวอร์ซัพพลาย เพื่อหาค่าความต่างศักย์ไฟฟ้าของแต่ละสี

          3.เมื่อเราหาค่าความต่างศักย์ไฟฟ้าของแต่ละสีแล้วจะได้ค่าใกล้เคียงกับภาพดังนี่้ ซึ่งหัวต่อในพาวเวอร์ซัพพลายของเราจะมี 20 pin ค่ะ

ค่าต่างศักย์ไฟฟ้าที่เราวัดได้จากพาวเวอร์ซัพพลายของเราค่ะ

เรามีวีดีโอที่เราวัดค่าความต่างศักย์ไฟฟ้าจากพาวเวอร์ซัพพลายมาให้ชมด้วยนะคะไปชมกันเลย

ขอบคุณที่เข้ามาชมนะคะ 
ไว้พบกันใหม่กับการรีวิวครั้งหน้านะคะ

อ้างอิง :
https://tungelectronic.wordpress.com/category/%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD/
-http://bablunotes.blogspot.com/2015_01_01_archive.html

วันศุกร์ที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

สำรวจเมนบอร์ด

การเปิด-ปิดเครื่องและรีเซตเครื่องจากเมนบอร์ด
       สวัสดีค่ะวันนี้เราจะรีวิวการเปิด-ปิดเครื่อง และรีเซตเครื่องจากเมนบอร์ดหรือนอกเคสนั้นเองค่ะ เพื่อทำการตรวจสอบการใช้งานของชิ้นส่วนต่างๆว่ายังทำงานได้ตามปกติอยู่ไหมไปชมกันเลย

เมนบอร์ด Asus รุ่น P4S333-VM

ขั้นตอนการเปิด-ปิดเครื่อง และรีเซตเครื่องจากเมนบอร์ด
1. เมื่อเรานำเมนบอร์ดออกจากเคสมาวางไว้ข้างนอกในพื้นที่ที่เราวางเมนบอร์ดจะต้องสะอาดปราศจากตัวนำไฟฟ้า เพราะเป็นการระมัดระวังไม่ให้เกิดอันตรายกับตัวเราได้
2. จากนั้นให้เราตรวจสอบชิ้นส่วนต่างๆ ว่าเราเอาชิ้นส่วนต่างๆที่เชื่อมต่อกับเคสออกหมดยัง แล้วเชื่อมต่อชิ้นส่วนต่างๆ เข้าเมนบอร์ดให้เหมือนตอนอยู่ในเคส แต่เราจะเปิดปิดเครื่องและรีเซตเครื่องจากเมนบอร์ด
3. นำอุปกรณ์ที่เป็นตัวนำไฟฟ้า เช่น ไขควง มาแตะที่ pin 4 กับ 5 พร้อมกัน เพื่อทำการเปิดเครื่อง ถ้าหน้าจอเปิดได้ แสดงว่า เมนบอร์ดเครื่องเราใช้งานได้ปกติและเราเชื่อมต่อชิ้นส่วนต่างๆได้ถูกต้อง (ในเครื่องที่เราใช้ทดลองหน้าจอเปิดได้ใช้งานได้ปกติค่ะ)
4.ทำการรีเชตเครื่อง โดยการนำไขควงไปแตะที่ pin 1 กับ 2 พร้อมกัน
5. เมื่อเราจะปิดเครื่องเรานำไขควงไปแตะที่ pin 4 กับ 5 อีกครั้ง ในการปิดเครื่องเราจะแตะทิ้งไว้จนกว่าหน้าจอปิดและเครื่องหยุดทำงาน การปิดเครื่องจึงจะสำเร็จ
สามารถดูภาพประกอบได้ดังนี้

เราจะนำเมนบอร์ดออกจากเคสก่อนนะคะ

 แล้วดึงสายไฟที่เชื่อมต่อระหว่างเคสกับเมนบอร์ดออก จากนั้นนำเมนบอร์ดไปวางไว้แล้วเชื่อมต่อชิ้นส่วนต่างๆให้เหมือนตอนอยู่ในเคส แต่เราจะไม่เชื่อมต่อสายไฟกับเคส

สายไฟนี้เป็นสายไฟสวิตท์และไฟหน้าเครื่องที่เชื่อมต่อกับเคส เราจะต้องถอดออกเพื่อที่จะทำการเปิดเครื่องจากเมนบอร์ด

เมื่อเราถอดแล้วจะเห็นดังภาพนี้ที่เราวงไว้ ซึ่งเป็นขั่วต่อปุ่มสวิทซ์และไฟหน้าเครื่อง

จากภาพจะแสดงแบบจำลอง System panel connection (ขั่วต่อปุ่มสวิทซ์และไฟหน้าเครื่อง)
 ในเครื่องนี้จะมีทั้งหมด 20 pin

pin ที่ 4 กับ 5 จะใช้ในการเปิด-ปิดเครื่อง
pin ที่ 1 กับ 2 จะใช้ในการรีเซตเครื่อง

ทดลองเปิดเครื่องดู ถ้าหน้าจอเปิดได้แสดงว่าเราต่ออุปกรณ์ถูกต้อง และเครื่องของเราใช้งานได้ปกติ

หากทุกท่านยังสงสัยเรามีวีดีโอประกอบการเปิด-ปิดเครื่องและรีเซตเครื่องจากเมนบอร์ดด้วยนะคะ

     
......ขอขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาชมนะคะ ......

วันเสาร์ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

เปลี่ยนพัดลมพาวเวอร์ซัพพลาย

 การเปลี่ยนพัดลมพาวเวอร์ซัพพลาย
        ทุกท่านคงจะคุ้นเคยกับส่วนประกอบนี้แล้วใช่มั้ยคะ ใช่แล้วค่ะมันคืออุปกรณ์และส่วนประกอบภายในของพาวเวอร์ซัพพลาย
        เมื่อเราถอดพาวเวอร์ซัพพลายออกก็จะพบส่วนประกอบภายในของพาวเวอร์ซัพพลาย ซึ่งวันนี้เราจะมารีวิวการเปลี่ยนพัดลมของพาวเวอร์ซัพพลายของเครื่องหนึ่งไปยังอีกเครื่องหนึ่งไปชมพร้อมๆกันเลย

ตอนนี้เรากำลังจะแยกชิ้นส่วนของพาวเวอร์ซัพพลายให้ท่านผู้ชมดู โดยการหมุนน็อตของตัวพาวเวอร์ซัพพลาย

ภาพนี้คือ ภายในของพาวเวอร์ซัพพลาย

เอาชิ้นส่วนของพาวเวอร์ซัพพลายออกเพื่อที่จะเปลี่ยนพัดลม การที่จะเปลี่ยนพัดลมก็ต้องถอดสายไฟพัดลมที่เชื่อมต่อกับแผงวงจรออก

การถอดสายไฟพัดลมที่เชื่อมต่อกับแผงวงจรออกได้จะต้องใช้หัวแร้งละลายตะกั่วและอุปกรณ์ดูดตะกั่่ว

นำหัวแร้งที่ร้อนอยู่มาแตะที่ช่องถอดสายไฟพัดลมแล้วนำอุปกรณ์ดูดตะกั่วออกแล้วดึงสายไฟพัดลมออก ควรพิจารณาดูสายไฟแต่ละสีด้วนเพื่อเราจะได้ต่อเข้าให้ถูกเหมือนเดิม 

เมื่อถอดพัดลมแล้วก็นำสายไฟพัดลมของอีกเครื่องหนึ่งมาเชื่อมต่อกับแผงวงจรของเครื่องเรา โดยการใส่สายไฟตามช่องเดิมที่เคยถอดออก แต่ต้องใส่สายไฟให้ตามสีให้ถูกต้อง แล้วทำการบัดกรีเข้าแผงวงจร โดยนำขดลวดมาใช้ในการบัดกรี จะทำให้การเชื่อมต่อสายไฟพัดลมเข้ากับแผงวงจรเสร็จสมบรูณ์

เมื่อต่อเสร็จแล้วก็ประกอบเข้าเหมือนเดิมแล้วทำการทดลองเปิดพัดลมของพาวเวอร์ซัพพลาย

การทดลองเปิดพัดลมพาวเวอร์ซัพพลายเราจะใช้อุปกรณ์ช่วยก็คือแหนบ ซึ่งเป็นตัวนำไฟฟ้าได้ดี 

เมื่อทดลองเปิดโดยการเสียบสายปลั๊กไฟ ผลที่ได้ พัดลมทำงานได้ตามปกติ สังเกตได้จากลูกศรสีแดงดังภาพข้างบนนี้ 

ถอดสายปลั๊กไฟเพื่อเป็นการหยุดการทำงานของพัดลมพาวเวอร์ซัพพลาย สังเกตได้จากลูกศรสีแดงดังภาพข้างบนนี้ 

        สำหรับภารกิจของเราในวันนี้ก็สำเร็จไปด้วยดี การที่เราจะเปลี่ยนอุปกรณ์ภายในของคอมพิวเตอร์ได้นั้น เราต้องมีความรอบคอบ ไตร่ตรองให้ดี เพื่อให้งานของเรามีประสิทธิภาพ